ท่านละ 150,000 บาท ตลอดหลักสูตร
(รวมอาหาร เอกสารบรรยาย กระเป๋าเอกสาร ชุดสูท เสื้อโปโล และค่าศึกษาดูงานต่างประเทศ /ไม่รวมภาษี)
ภาษาไทย : วิชาชีพที่ปรึกษาธุรกิจเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจไทย (วปธ.)
ภาษาอังกฤษ : Professional Business Consulting For Enterprise Development Thailand (PBC.)
ปัจจุบัน SMEs ไทยยังขาดแผนแม่บทในการพัฒนาและต้องช่วยเหลือตนเอง แต่ก็ยังสามารถพัฒนามาอยู่ในระดับ 3 ในประเทศอาเซียน รองจากสิงคโปร์ และ มาเลเซีย ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมจากภาครัฐก็จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของ SMEs ให้อยู่รอดแข็งแกร่งและสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ กอปรกับปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวน การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างจีน ยุโรป และญี่ปุ่น รวมทั้งแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ SMEs ขนาดเล็กของไทย ข้อมูล สสว. SMEs มีจำนวนกว่า 2.76 ล้านราย หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 96.7 ของผู้ประกอบการวิสาหกิจทั้งประเทศ
การประกาศนโยบาย SMEs เป็นวาระแห่งชาติ ของรัฐบาลยุค คสช.ในช่วงที่ผ่าน จึงเป็นนโยบายที่ออกมาช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับ SMEs ในช่วงที่มีความไม่แน่นอนในตลาดโลก โดยมีแนวทางในการปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจที่เน้นปัจจัยการผลิตเดิม (Factor driven growth) ประเภทที่ดิน แรงงาน และทุน ไปสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ การสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มเป็นปัจจัยขับเคลื่อน หรือการพัฒนาทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อยกระดับให้ SMEs ไทยเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) และตั้งเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนรายได้ของ SMEs ทั้งระบบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ขยายตัวเพิ่มขึ้น
จะเห็นได้ว่า SMEs ในยุครัฐบาล คสช. จะสร้างความแข็งแกร่งจากมาตรการสนับสนุนของภาครัฐที่เข้มข้น อาทิ เช่น การเข้าถึงสินเชื่อที่เอื้ออานวยต่อการประกอบธุรกิจ การลดหย่อนทางภาษี การขยายช่องทางตลาดในต่างประเทศจากทาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงในตลาดต่างประเทศ การพัฒนาศักยภาพเพื่อนาไปสู่การเข้า AEC การค้าชายแดนโดยเฉพาะช่องทางตลาดเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนนาร่องเฟสแรกและเฟสสอง รวม 10 จังหวัด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะสาหรับการผลิต และการค้าส่ง การค้าปลีก ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดน ซึ่งมูลค่าการค้าชายแดนในช่วงที่ผ่านมาประมาณกว่า 1 ล้านล้านบาทหรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณกว่าร้อยละ 6.8 ของปริมาณการค้ารวมของทั้งประเทศให้เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนได้รับสิทธิพิเศษที่อนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน สาหรับ SMEs ที่เป็นหนี้ NPL ก็มีโอกาสฟื้นตัวจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และ SMEs -OTOP ก็เป็นโอกาสให้ SMEsหาผู้มาร่วมทุนได้
ดังนั้นมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมีนโยบายโดยตรงถึงผู้ประกอบการ ทั้งการส่งเสริมความรู้ การสนับสนุน เงินทุน สินเชื่อ โดยเฉพาะโครงการเงินกู้เพื่อ SMEs 10,000 บาท จำเป็นที่ผู้ประกอบการ SMEs จะต้องมีเพื่อนคู่คิด พี่เลี้ยง ที่ปรึกษา ให้คำปรึกษาแนะนำ ทั้งการปรับปรุงธุรกิจให้มีความพร้อมในการที่จะได้รับโอกาสการสนับสนุนการช่วยเหลือเงินทุนจากภาครัฐ ตลอดจนสามารถบริหารกิจการที่มีกำลังสามารถใช้คืนภาระสินเชื่อได้ อีกทั้งมีแผนขยายธุรกิจให้สามารถสู่ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ ทั้งหมดล้วนต้องการที่ปรึกษาธุรกิจในการทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการและอีกนัยหนึ่งเสมือนหนึ่งเป็นผู้ช่วยหน่วยงานภาครัฐที่เฝ้าระวังไม่ก่อเกิดหนี้เสียขึ้นจะส่งผลกระทบแก่โดยรวมของประเทศได้
ทางสถาบันวิชาชีพที่ปรึกษาธุรกิจ ได้รับมอบหมายจาก สมาคมเครือข่ายที่ปรึกษาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้จัดหลักสูตรฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร ทำหน้าที่ช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และได้ร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งกับ ท่านผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชียวชาญ ผู้ชำนาญการ นักวิชาการ และที่ปรึกษาธุรกิจ ตลอดจน ผู้จบการศึกษา วปธ.ในรุ่นที่ผ่าน ได้จัด พัฒนาหลักสูตร “วิชาชีพที่ปรึกษาธุรกิจเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจไทย “ (วปธ.) Professional Business Consulting For Enterprise Development Thailand (PBC.) ภายใต้แนวความคิด PBC Consult 4.0 เพื่อพัฒนาที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญ ให้มีความรู้ ทักษะ และมาตรฐาน การให้บริการปรึกษาแนะนำ ภายใต้จริยธรรม และจรรยาบรรณของวิชาชีพที่ปรึกษา
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ ผู้ที่สนใจมีวิชาชีพที่ปรึกษาธุรกิจ อาทิเช่น ผู้สนใจที่ต้องการและมีพร้อมที่จะประกอบอาชีพให้บริการปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการด้วยจริยธรรมจรรยาบรรณที่ดี (ต้องผ่านการสอบคัดเลือก)
ระบบความรู้การให้คำปรึกษาแบบมืออาชีพในทุกมิติจนสามารถวินิจฉัยองค์การ (Organizational Diagnosis) และให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้องตามหลักการและวิธีการซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการเป็นที่ปรึกษามืออาชีพระดับสากล สามารถเข้าใจระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างได้อย่างละเอียด และมีคุณสมบัติและจรรยาบรรณที่เหมาะสมกับการเป็นที่ปรึกษาธุรกิจมืออาชีพ
ศึกษาหลักการและวิธีการคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking) รวมทั้งระบบการให้ข้อเสนอแนะแบบเป็นขั้นตอนภายใต้การพัฒนาทักษะการคิด การพูด และบุคลิกภาพ การเสนองาน และการสร้างเครือข่าย (Connection) ของความเป็นที่ปรึกษามืออาชีพ จนสามารถประมวลองค์ความรู้ของตนและประสบการณ์สู่การให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาได้ทุกมิติปัญหาแก่ผู้ประกอบการได้
ศึกษาบริบท (Context) ของระบบธุรกิจในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างไร ภายใต้โอกาสและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจใน AEC รวมทั้งการศึกษาสังคมและวัฒนธรรม รูปแบบการจัดตั้งธุรกิจ ระบบกฎหมาย ภาษีอากรและภาษีศุลกากร และระบบโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศในอาเซียนว่ามีความคล้ายคลึงและแตกต่างจากกันอย่างไร โดยที่ปรึกษาจะให้คำแนะได้อย่างไรให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ
เน้นระบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning) ทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และการดูงานผ่านกระบวนการประสบการณ์การเรียนรู้ของวิทยากรและผู้เรียนตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆ จนสามารถนำความรู้ ทักษะ และเจตคติไปสร้างงาน แก้ปัญหาและสามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการได้ด้วยตนเอง และสามารถผ่านการทดสอบต่างๆที่หลักสูตรกำหนดไว้ จนนำไปสู่การขึ้นทะเบียนเป็นการเป็นที่ปรึกษากับกระทรวงการคลังและผ่านการสอบระบบ I3C ของกระทรวงอุตสาหกรรม ตามลำดับต่อไป
เรียนรู้ระบบการพัฒนาตนเอง (Self –Management) ให้เกิดสมรรถนะของความเป็นที่ปรึกษา (Consultancy Competencies) ซึ่งประกอบไปด้วย ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และคุณลักษณะพิเศษหรือทัศนคติ (Attribute or Attitude) ของการเป็นที่ปรึกษามืออาชีพ
การศึกษาและเรียนรู้นอกสถานที่ซึ่งเป็นหน่วยงานทั้งของภาครัฐ และเอกชนชั้นนำที่เป็นต้นแบบของความสำเร็จทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อเรียนรู้แนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการบริหารองค์การ รวมทั้งรูปแบบการให้คำปรึกษาแบบมืออาชีพ
ศึกษาและเรียนรู้ผ่านผลงานการวิจัยด้านการวินิจฉัยองค์การ และการให้คำปรึกษาต่างๆ รวมทั้งกรณีศึกษา (Case Study) การให้คำปรึกษาทั้งแนวทางการปฏิบัติที่ดี ปัญหาและอุปสรรคการให้คำปรึกษา รวมถึงเทคนิควิธีการแก้ไข
ผู้เรียนในหลักสูตรที่ปรึกษาวิชาชีพธุรกิจภายหลังได้เรียนรายวิชาจนครบทุกหัวข้อวิชาแล้ว จะต้องผ่านระบบการเก็บชั่วโมงการให้คำปรึกษา ไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง (10 Man-days)
ผู้เรียนในหลักสูตรที่ปรึกษาวิชาชีพธุรกิจจะต้องผ่านระบบการสอบประมวลรายวิชา (Comprehensive Examination) รวมทั้งผ่านการประเมินจากเวลาการเข้าเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (โดยการสแกนลายนิ้วมือ เช้า/บ่าย/ เลิกเรียน) ส่งงานตามที่ได้รับมอบหมายอย่างครบถ้วน และเก็บชั่วโมงให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ 10 Man-days รวมทั้งการศึกษาดูงานตามหลักสูตรได้ที่กำหนดไว้
ศึกษาระบบ และตำแหน่งที่ปรึกษาด้านต่างๆ อาทิ การเงินและบัญชี ภาษีอากร การบริหารทั่วไป การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การผลิต การตลาดและการขาย การขนส่ง และ โลจิสติกส์ พลังงาน และอื่นๆที่สมาคมรับรอง
ทางสถาบันวิชาชีพที่ปรึกษาธุรกิจ ได้กำหนดหลักสูตร วปธ. โดยมี 10 หมวด, 3 ภาควิชา และ 3 กลุ่มวิชา ดังต่อไปนี้
ศึกษาในชั้นเรียน กับวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิและประสบการณ์ตรงที่อยู่ในแวดวงธุรกิจ อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศ การเงินการคลัง จากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน มีจำนวน 27 วันๆละ 7 ชั่วโมง รวมเวลาเรียนทั้งสิ้น 189 ชั่วโมง
กลุ่มวิชาพื้นฐาน เช่น แผนธุรกิจ SWOT BMC เป็นต้น
กลุ่มวิชาบังคับ เป็นวิชาที่จำเป็นต่อวิชาชีพที่ปรึกษาธุรกิจ การสร้างเครือข่าย เป็นต้น
กลุ่มวิชาเสริม เช่น วิชาการจำลองการให้คำปรึกษา (Consult Simulator) เป็นต้น
การปฏิบัติให้คำปรึกษาแนะแก่ผู้ประกอบการ ณ สถานประกอบการจริง เป็นการระบบการเก็บชั่วโมงให้คำปรึกษา ไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง ( OJT : 10 Man days)
งานวิจัยส่วนบุคคล IS
การดูงานในประเทศ จะศึกษาดูงานองค์กรชั้นนำในประเทศ โดยแยกเป็น 4 ส่วนดังนี้
กิจการรัฐวิสาหกิจ และ/หรือ วิสาหกิจ ขนาดกลาง และขนาดใหญ่
กิจการ หน่วยงานจ้างที่ปรึกษา ภาครัฐ และ/หรือ ภาคเอกชน
กิจการ หน่วยงานการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ SMEs ภาครัฐ และ/หรือภาคเอกชน
กิจการ หน่วยงานเพื่อสังคม ภาครัฐ และ/หรือภาคเอกชน
* การดูงานในต่างประเทศ จะศึกษาดูงานกิจการในต่างประเทศ กลุ่มประเทศ อาเซียน* (จะกำหนดภายหลัง)
ผู้อำนวยการหลักสูตร :ดร.วิริยะ ลิขิตวงศ์
คณะกรรมการบริหารหลักสูตร : นายพงศา แสนใจงาม, นางสาวนภัทร อริยรัชโตภาส, นายณัฐกานต์ ลิขิตวงศ์, นายดำรงค์เกียรติ ศรีนนม่วง, นางสายสุนี ขำเนตร และ นายกำพล อัศวพัฒนากูล
คณะวิทยากร : (อยู่ระหว่างการเรียนเชิญ)ได้แก่ ศ.ดร เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, รท.ดร.ธนาพจน์ เอกโยคยะ, ดร.กฤษณะ บุหลัน ,ดร.เรวัต ตันตยานนท์,ดร.อิทธิกร ขำเดช, ดร.ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูลย์ เป็นต้น
ทีมโค๊ช:อ.กำพล อัศวพัฒนากูล, อ.สมชาย กาญจนหฤทัย, อ.ณกฤช วนาอินทรายุธ และ อ.อาทร ยงรัตนกิจ
– วปธ. รุ่นที่ 10 เรียนทุกวันเสาร์และอาทิตย์
1. ลงทะเบียนสอบ(สมัครออนไลน์) การอบรมวิชาชีพที่ปรึกษาธุรกิจ ได้ที่ https://goo.gl/z7i02s
Facebook : หลักสูตรวิชาชีพที่ปรึกษาธุรกิจ หรือ Website : ThaiConsult.org
E mail : PBC60@SMECN.or.th หรือ LINE :@pbci60 หรือ โทร : 097-715-9251-4 ตั้งแต่บัดนี้
2. ชำระเงินค่าลงทะเบียนสอบ 1,000 บาท ต่อท่าน ตามช่องทางการชำระเงินทางที่หลักสูตรกำหนด และส่งหลักฐานการโอน ที่ E mail :PBC60@SMECN.or.th หรือ Line: @pbci60 หรือ โทรสาร 02 374 0989 ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ยื่นสมัครออนไลน์
3. เข้าร่วมฟังบรรยายและสอบคัดเลือก ตามวันที่ท่านเลือก ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โดยมีกำหนดการสอบดังนี้
4. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบคัดเลือก ชื่อ-สกุล หมายเลขประจำตัวสอบ ผ่านทาง e-mail ภายหลังจากได้รับหลักฐานไม่เกิน 2 วันทำการ
5. เข้าสอบการสอบคัดเลือกตามวัน เวลา ที่ท่านได้เลือก
6. ชำระค่าลงทะเบียนเรียนได้ตั้งแต่วันพุธที่ 16 สิงหาคม ถึง วันพฤหัสที่ 31 สิงหาคม 2560 ค่าลงทะเบียน 150,000 บาท
7. พิจารณาการจบหลักสูตรวิชาชีพที่ปรึกษาธุรกิจเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจไทย (ผ่านเกณฑ์การจบ 1-3 ข้อ) ขึ้นทะเบียนที่ปรึกษากับสมาคม และกระทรวงการคลัง มีการประเมินผล ดังนี้
8. พร้อมอาหารกลางวันและอาหารว่าง (ตามตารางการเรียนการสอน) อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
ห้องฝึกอบรม : ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซนทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์แจ้งวัฒนะ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
แผนที่ thaiconsult.org/map
ท่านละ 150,000 บาท ตลอดหลักสูตร
(รวมอาหาร เอกสารบรรยาย กระเป๋าเอกสาร ชุดสูท เสื้อโปโล และค่าศึกษาดูงานต่างประเทศ /ไม่รวมภาษี)
1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) สาขา ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ แจ้งวัฒนะ (อาคาร B)
บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 955-0-18181-2
ชื่อบัญชี “ สมาคมเครือข่ายที่ปรึกษาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ”
2. บัตรเครดิตทุกธนาคาร ได้ทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. ณ ที่ทำการอาคารจิตต์อุทัย ชั้น 2 ถ.รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ โทร. 02-374-0988, 097-7159258-9
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือมีข้อสงสัย
@ LINE : @pbci60
Tel : 097-715-9251 ถึง 4
E mail : pbc60@smecn.or.th
FB : https://facebook.com/pbc.smecn